การดูแลตัวเองสำหรับ ผู้ป่วยฉายรังสี
บริเวณศีรษะ ลำคอ หู และจมูก
วิธีการปฏิบัติตัวระหว่างการฉายรังสี
การดูแลผิวหนังบริเวณฉายรังสี (*สำคัญมาก)
- * ระวังและรักษาเส้นที่ขีดไว้เป็นสัญลักษณ์บนผิวหนัง ห้ามให้ลบเลือน (ยกเว้นผู้ป่วยที่ทำหน้ากาก)
- ห้ามโดนน้ำบริเวณที่ฉายรังสี หากเปียกชื้นใช้วิธีการซับด้วยผ้านุ่มๆ เพื่อให้ผิวหนังแห้งแทนการเช็ดถู
- * ห้ามใช้สบู่ แป้ง แชมพู น้ำหอม ครีม หรือเครื่องสำอางต่างๆ กับผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสี เช่น การเช็ด ถู ขัด เกา รวมทั้งหลีกเลี่ยงความร้อนและ แสงแดดจัด
- ห้ามใช้กระเป๋าน้ำร้อน หรือกระเป๋าน้ำแข็งวางในบริเวณที่ฉายรังสี
- หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีเพื่อพิจารณาให้พบแพทย์ดูอาการต่อไป
- อาหารโดยทั่วไปไม่มีของแสลง ควรรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำอย่างต่ำวันละ 2 ลิตร
- ควรรับประทานยาเฉพาะที่แพทย์สั่งเท่านั้น
- ออกกำลังตามสภาพของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
- ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยรังสี ห้ามตั้งครรภ์เด็ดขาด
- ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นและวิธีการปฏิบัติตัว
ก่อนรับการฉายรังสี
ควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก เหงือกและฟัน และทำการรักษาอย่างเหมาะสมโดยทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญ เฉพาะก่อนเริ่มการรักษาด้วยรังสี ยกเว้นกรณีเร่งด่วน
ระหว่างการฉายรังสี
- ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น
- เยื่อบุช่องปากและลำคออักเสบ
- ปากแห้ง ไม่รู้รสอาหาร
- ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสีแดงคล้ำ แห้งคันหรือเป็นแผล
- คลื่นไส้อาเจียน
- วิธีการปฏิบัติตัว
- จิบน้ำอย่างสม่ำเสมอทุก 1 – 2 ชั่วโมง หรืออมก้อนน้ำแข็งเล็กๆ เพื่อให้ช่องปากชุ่มชื้นและสะอาด
- รับประทานอาหารอ่อนกลืนได้ง่าย
- รักษาความสะอาดภายในช่องปาก โดยแปรงฟันตอน เช้า และก่อนนอน และควรใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรง อ่อนเบอร์เล็กๆ
- ตรวจดูสุขภาพช่องปากของตนเองทุกวัน หากเริ่มมีแผลในช่องปาก ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบโดยแพทย์จะพิจารณาให้ยาตามความเหมาะสม
- ยาสีฟันควรใช้ชนิดที่มีฟลูออไรด์ (fluoride) ไม่ระคายเคืองช่องปาก และไม่ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ขายในท้องตลาด
- บริหารกราม ด้วยการค่อยๆ อ้าปากช้าๆ จนสุด หรือคาบอุปกรณ์ที่แพทย์ให้ไว้ และบริหารข้อต่อกระดูกต้นคอด้วยการหันซ้ายและขวา และก้มเงยศีรษะช้าๆ จนสุดทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
ภายหลังงการฉายรังสีครบ
- ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น
- น้ำลายแห้ง
- ผิวหนังที่โดนรังสีแข็ง
- ระดับฮอร์โมนต่ำ, ปากแคบ, ฟันผุ
- วิธีการปฏิบัติตัว
- พบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง หรืออย่างน้อยทุก 6 เดือน หากมีปัญหาของเหงือกและฟัน ควรปรึกษาแพทย์รังสีรักษาก่อน
- ทำความสะอาดในช่องปาก เหงือก และฟันอย่างอ่อนโยน
- บริหารกรามและต้นคอ อย่างสม่ำเสมอทุกวัน
วิธีการปฏิบัติตัวภายหลังฉายรังสีครบ
- วิธีการปฏิบัติตัว
- ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีจะโดนน้ำตามปกติได้เมื่อไร แพทย์จะเป็นผู้กำหนด
- ปฏิบัติตัวด้านต่างๆ เช่นเดียวกับระหว่างฉายรังสี
- ห้ามรับประทานยาฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดโดยเด็ดขาดหากแพทย์ไม่ได้สั่ง
- ถ้าประสงค์จะมีบุตร ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
- ผู้ป่วยควรมาติดตามผลการรักษาตามวันเวลาที่ แพทย์นัดหมาย โดยแพทย์อาจมีการสั่งการตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ตรวจเลือดในครั้งถัดๆไปด้วย และหากผู้ป่วยพบสิ่งผิดปกติ เช่น มีก้อน หรือมีอาการไม่ปกติให้รีบมาพบแพทย์ ก่อนถึงวันนัดหมาย