IGRT (Image Guided Radiation Therapy)

ขั้นตอนการวางแผนการรักษาในปัจจุบัน นิยมนำข้อมูลภาพ 3 มิติทางกายวิภาคของผู้ป่วยที่ได้จากการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography: CT) และ/หรือการตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI) มาใช้ในการกำหนดตำแหน่งมะเร็ง และอวัยวะปกติข้างเคียง แต่อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการฉายรังสีรักษา ก้อนมะเร็งอาจไม่ได้รับปริมาณรังสีตามที่ได้วางแผนการรักษาไว้ เนื่องจากก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อปกติอาจมีการเคลื่อนตำแหน่ง หรือเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ทั้งในระหว่างการฉายรังสีแต่ละครั้งอาจมีการจัดท่าผู้ป่วยเปลี่ยนไป หรือการเปลี่ยนแปลงขนาดของก้อนมะเร็ง, มีการเคลื่อนของอวัยวะภายใน เช่นผลจากการหายใจเป็นต้น

ในปัจจุบันโรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งกรุงเทพขนาดเล็กจึงใช้เทคนิคการฉายรังสีแบบใหม่ ที่เรียกว่า รังสีภาพนำวิถี หรือ IGRT(Image Guided Radiation Therapy) โดยก่อนการฉายรังสีรักษา เครื่องเร่งอนุภาคจะหมุนรอบตัวผู้ป่วยหนึ่งรอบ เพื่อเก็บข้อมูลมาสร้างเป็นภาพ 3 มิติ เป็นการตรวจสอบตำแหน่งที่แน่ชัดของก้อนมะเร็งก่อนที่จะทำการรักษา ซึ่งถ้าคลาดเคลื่อนก็จะแก้ไขตำแหน่งให้ถูกต้องเสียก่อน ทำให้การรักษามีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการทำลายเนื้อเยื่อดีรอบก้อนมะเร็งได้